จัดการขยะที่ต้นทาง ด้วยการไม่สร้างขยะ


 

จัดการขยะที่ต้นทาง

ด้วยการไม่สร้างขยะ

 

เกาะฮ่องกง เมืองเล็กๆที่มีมนต์เสน่ห์ ใกล้ๆประเทศไทยนิดเดียว ไปเช้าเย็นกลับนั่งถ่ายภาพวิว โพสลงโซเชียลชิลๆได้สบาย นั่นคือมุมสวยงามที่ใครๆต่างไผ่ฝันอยากไปเยือนสักครั้ง แต่อีกมุมหนึ่งฮ่องกงก็มีปัญหาขยะและการจัดการขยะไม่ต่างจากบ้านเรา

 

 

ปัญหามีไว้แก้ไม่ใช่ปล่อยเลยผ่านเลย

 

 ****

 

กำจัดเสียตั้งแต่ต้นทาง

 

เป็นเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ( Hong Kong Special Administrative Region of the  People’s Republic of China - HKSAR) 1,103 ตาราง ก.ม. (เล็กกว่าไทยประมาณ 500 เท่า) ด้วยความเล็กของ พื้นที่ แต่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมา

(ในบทความนี้มุ่งเน้นที่กรณีศึกษาการจัดการขยะอาหาร)

 

ประชากรของฮ่องกงถือว่าเป็นผู้สร้างขยะสูงที่สุดในทวีปเอเชีย คือ 1.36 กิโลกรัม/วัน/คน มีการจัดการขยะอาหารด้วยวิธีการฝังกลบ อัตราการฝังกลบคิดเป็นร้อยละ 52 มากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในปัจจุบัน ประเทศฮ่องกงยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเผาขยะ

 

แต่ละวันหลุมฝังกลบจะมีขยะเข้ามา 9,278 ตัน ร้อยละ 38.6 เป็นขยะอาหาร หรือประมาณ 3,584 ตัน/วัน  มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ 485 ล้านดอลลาร์/ปี ทางรัฐบาลฮ่องกงคาดการว่า หลุมฝังกลบจะเต็มในปี 2019 ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องสร้างหลุมฝังกลบใหม่ในพื้นที่ 400 เฮคเตอร์ เพื่อใช้จนถึงปี 2030

 

นั่นคือปัญหาที่ฮ่องกงเผชิญและกำลังเร่งหาทางแก้ เท่าที่ประมวลมาได้ประกอบด้วย โครงการของรัฐบาลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ดังนี้

 

1. Food Wise Hong Kong – เป็นการรณรงค์ในปี 2013 มุ่งเน้นในเรื่องเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อลดการสร้างขยะ โดยร่วมมือกับ ผู้บริโภค, supplier อาหาร, รัฐบาล, และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เริ่มจากทำ best practice ด้านอาหารให้กับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม, โรงแรม, บ้านพักให้เช่า, และห้างสรรพสินค้า เพื่อสร้างพฤติกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้สื่อต่างๆเพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงปัญหาขยะให้แก่ประชาชน

 

2. Food Waste Reduction Program – เริ่มทำโดยองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Department - EPD) กิจกรรมส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในห้างสรรพสินค้าเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและความรู้ให้กับสาธารณะ ต่อมา ได้ให้ความรู้แก่ร้านอาหารและภัตตาคารต่างๆ รวมไปถึงมีการจัดสัมมนาเป็นระยะๆ

 

3. Green lunch charter and On-site meal portioning in schools – กระทรวงสิ่งแวดล้อมและกระทรวงศึกษาธิการฮ่องกง ได้ร่วมมือกันทำในปี 2010 โดยโครงการนี้ดำเนินงานตามโรงเรียนต่างๆ เป็นการจัดการด้านอาหารกลางวันของโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ เช่น ไม่เสิร์ฟอาหารให้นักเรียนมากเกินไปเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร, ใช้กล่องที่รีไซเคิลได้ใส่อาหารแทน, และให้ความรู้ในเรื่องขยะแก่นักเรียน รวมไปถึงมีการจัดอภิปรายกับนักเรียนและผู้ปกครอง

 

4. Quantity-based waste charging system – เป็นการจูงใจด้านการเงินให้กับคนทั่วไปและบริษัทต่างๆภายใต้ข้อตกลงชื่อ “pay as you throw หรือ จ่ายตามที่ทิ้ง” โดยจะนำปริมาณขยะมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายของประชาชนและบริษัท มีเป้าหมายคือเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค

 

5. The food safety guidelines for food recovery – โครงการนี้เน้นไปที่ความปลอดภัยของอาหารในกระบวนการผลิต อาหารที่ผลิตมาจะต้องบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีวันหมดอายุบอกชัดเจน การเก็บอาหารในคลังสินค้าจะต้องมีการควบคุมที่ดี และมีการอบรมด้านสุขอนามัยของอาหารให้กับผู้ผลิต

 

6. Food waste source separation, collection and delivery – เป็นโครงการที่ทำโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมฮ่องกง ออกกฎว่าทุกคนจะต้องแยกขยะก่อนทิ้ง รวมไปถึงควบคุมดูแลคนที่รวบรวมขยะและรถขนส่งขยะ

 

7. Community Green Station – รัฐบาลฮ่องกงวางแผนว่าจะพัฒนาสถานีสีเขียว (Green station) ใน 18 ชุมชน (ชุมชนละ 1 สถานี) ในแต่ละสถานีจะดำเนินงานโดยกลุ่ม NGOs ในพื้นที่นั้นๆ โดยจะรับผิดชอบในเรื่อง การให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนและการรวบรวมและรีไซเคิลขยะในชุมชน ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องรวมไปถึงการลดการสร้างขยะอาหาร (Food waste reduction) และการแยกขยะ ในแต่ละสถานีจะร่วมมือกับที่พักอาศัย บริษัท กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ โรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ

 

8. Environmental awards and eco-labels – เป็นรางวัลที่ชื่อ Hong Kong Awards for Environmental Excellence (HKAEE) ดำเนินการโดยคณะกรรมการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Campaign Committee หรือ ECC) เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม โดยรางวัลนี้จะดูในเรื่องของการลดการสร้างขยะ การแยกขยะ และการรีไซเคิล

 

 

นอกจากนี้ฮ่องกงยังเอาจริงเอาจังกับการจัดการปัญหาในระยะยั่งยืน ดังนี้

 

จัดแบ่งขยะอาหารเป็น 2 ประเภท คือ หลีกเลี่ยงได้ กับ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อหาวิธีจัดการที่เหมาะสม

 

โดยขยะที่หลีกเลี่ยงได้ ยังแบ่งหมวดย่อยลงไปอีกถึง 3 ชั้น

1.ทำอาหารหรือเตรียมไว้มากเกินไป

2.อาหารที่ใช้ไม่ทันเวลา

3.อื่นๆ ส่วนใหญ่จะมาจากร้านอาหาร, ตลาด, และ supermarket

 

ส่วนขยะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ  อาหารที่ไม่สามารถกินได้เป็นปกติ เช่น กระดูกสัตว์ หรือเมล็ดผลไม้ ดังรูปด้านล่าง

 

 

               

วิธีจัดการขยะอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

               

1. การพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development) – ประกอบไปด้วย 3 หัวข้อ คือ ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีหลักการใหญ่ๆ 2 ข้อ คือ ความจำเป็น และ ข้อจำกัด ตามรูปด้านล่าง

 

               

2. การจัดลำดับขั้นของการลดขยะ (Waste Hierarchy) – การจัดลำดับนี้จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยจะเริ่มจากลดการใช้ขยะ, การนำขยะกลับมาใช้ใหม่, การรีไซเคิล, สุดท้ายคือ การกำจัดขยะ   

 

3. ขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) – มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้คนเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ยั่งยืนมากขึ้น โดยกระบวนการผลิตและสินค้าต่างๆจะถูกออกแบบมาให้ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จะมุ่งเน้นไปยัง 5 ส่วน คือ 1)ทรัพยากรธรรมชาติ 2)กระบวนการผลิต 3)สินค้า 4)การปล่อยมลพิษ 5)การใช้สารพิษ

 

4. จ่ายเงินตามมลพิษที่ปล่อย (Polluter pays principle) – ใช้หลักการคิดค่าเสียหายจากค่าการกำจัดขยะ โดยประชาชนทุกคนจะถูกคิดเงินเพิ่มขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณขยะที่มี

 

 

5. เพิ่มความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended producer responsibility  - EPR) – แนวคิดคือ ตลาด และ supermarket จะต้องจ่ายเงินเพิ่มสำหรับขยะอาหารที่เกิดจากอาหารที่ไม่ได้ขายออกไป

 

****

 

แท้ที่จริงแล้ว การจัดการปัญหาขยะ คือการไม่สร้างขยะตั้งแต่ต้นทางนั่นเอง

 

 

 

 

 

 

Attach files: 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube