แปลงขยะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ วิถีเกษตรแก้ปัญหาที่ยั่งยืน


แปลงขยะเป็นปุ๋ยอินทรีย์

วิถีเกษตรแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

 

ทั่วโลกต่างหยิบยกปัญหาขยะขึ้นมาถกอย่างเป็นจริงเป็นจัง จนกลายเป็นวาระแห่งชาติในหลายประเทศ ขณะที่บ้านเราได้จัดทำเป็นแผนจัดการปัญหาขยะปี 2558-2562[1] สาระสำคัญมีอยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆคือ 1.กำจัดขยะที่ตกค้างจากแหล่งกำจัดให้หมดไป 2.สร้างแหล่งกำจัดที่ถูกวิธี 3.ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.ปลูกฝังให้เกิดการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการขยะ ซึ่งก็ถือเป็นความพยายามหนึ่งที่จะแก้ปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานให้คลายลง

 

ลองมาดูวิธีการจัดการขยะของต่างประเทศ ด้วยการแปลงขยะให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผัก ใช้วิถีแห่งเกษตรกรเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหาให้เกิดความยั่งยืน

 

 

เมืองคูลนา ประเทศบังกลาเทศ เมืองเล็กๆ ซึ่งมีพื้นที่ 45.65 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 1.5 ล้านคน แต่อัตราการขยายตัวของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงก่อตัวขึ้นมาติดๆ ในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นในเมืองสูงถึง 520 ตัน ขยะเกือบทั้งหมดหมดถูกเก็บจากหน้าบ้านและนำไปทิ้งรวมกันโดยไม่มีการคัดแยก

 

จากปัญหาดังกล่าวทำให้ต้องทบทวนวิธีการจัดการเสียใหม่ เมืองคูลนา จึงริเริ่มทำปุ๋ยหมักจากขยะเหล่านั้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเทศบาล หน่วยงานราชการ NGOs และ เครือข่ายภาคประชาสังคมทั้งหมดในเมือง

 

บังกลาเทศ มีกระทรวงการเกษตร (The Ministry of Agricultural - MOA) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาและบังคับใช้มาตรฐานการทำปุ๋ย รวมไปถึงการลงทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตในการทำและขายปุ๋ยหมัก การจัดการขยะของเมืองคูลนาอาศัยกลไกลนี้เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการแปลงขยะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับเครือข่ายเกษตรกรของเมือง

 

ตารางที่ 1: NGOs ที่เริ่มทำปุ๋ยหมักจากขยะ

 

NGOs

จุดเริ่มต้นในการทำปุ๋ยหมักจากขยะ

RUSTIC

RUSTIC ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก BEMP/CIDA ในช่วงปี 2002-2003 โดย RUSTIC สามารถทำปุ๋ยหมักได้ 1 ตัน/วัน

Samadhan

Samadhan มีโรงผลิตปุ๋ยหมักออแกนิคเป็นของตัวเองภายใต้เงินสนับสนุนจาก Waste Safe/EU ในช่วงปี 2007-2010 แต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว Samadhan ได้หยุดดำเนินการไปเนื่องจากไม่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการเกษตร

SPS

SPS มีโรงผลิตปุ๋ยหมักและโรงงานรีไซเคิลขนาดเล็กภายใต้เงินสนับสนุนจาก World Bank ในช่วงปี 2002-2004

Prodipan

Prodipan เริ่มทำปุ๋ยหมักจากขยะจากการสนับสนุนเงินทุนของ World Bank ในช่วงปี 1997-2002 และยังได้รับการสนับสนุนจาก NGOs และ CBOs อื่นๆในช่วงปีเดียวกัน การทำปุ๋ยหมักของ Prodipan ได้รับการตอบสนองอย่างดี แต่ในปัจจุบัน Prodipan ไม่มีผลผลิตและการตลาด

 

การใช้ปุ๋ยหมักในโรงเพาะชำต้นไม้

เมืองคูลนา มีโรงเพาะชำ 85 แห่ง มีการสำรวจเรื่องรูปแบบการใช้ปุ๋ยใส่ต้นไม้และความต้องการใช้ปุ๋ยไปแล้ว 15 แห่ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ สมุนไพร ผลไม้ ไม้ซุง และต้นไม้อ่อน ปุ๋ยส่วนใหญ่ที่ใช้ในโรงเพาะจะเป็นปุ๋ยเคมี มีเพียงส่วนน้อยที่ทำปุ๋ยออแกนิคใช้เอง (ใช้มูลสัตว์และขยะครัวเรือน เศษอาหาร ในการทำปุ๋ย) ผู้ที่ใช้ปุ๋ยออแกนิคส่วนใหญ่จะทำใช้เองมากกว่าซื้อใช้ ตามรูปด้านล่าง

 

 

จากรูปจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะทำปุ๋ยเพื่อใช้เองในโรงเพาะ บางโรงเพาะมีบ่อหมักปุ๋ยเป็นของตัวเอง ส่วนโรงเพาะที่ใช้ปุ๋ยหมักจากที่อื่น ก็ยังมีการทำปุ๋ยหมักใช้เองแต่ปริมาณไม่เพียงพอ

 

แม้การจัดการปัญหาขยะด้วยการแปลงร่างให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นทางออกที่ดีและได้รับการยอมรับ แต่ระหว่างการดำเนินงานมีอุปสรรค์และปัญหาอยู่บ้าง เช่น

-  NGOs ไม่สามารถขอใบอนุญาตการทำปุ๋ยหมักจากกระทรวงการเกษตร ตัวอย่างเช่น Samadhan ต้องปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถขอใบอนุญาตได้

- ขาดความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีจากภาครัฐ ทำให้ปุ๋ยหมักที่ผลิตออกมาด้อยคุณภาพ ส่งผลให้ชาวนา ชาวสวนที่ทำโรงเพาะต้นไม้ไม่มั่นใจที่จะใช้ปุ๋ยเหล่านั้น และหันไปใช้ปุ๋ยเคมีแทน

- NGOs, โรงเพาะต้นไม้, และการทำฟาร์มที่อยู่ในเมือง พบปัญหาเรื่องไม่มีพื้นที่มากพอที่จะสร้างโรงทำปุ๋ยหมัก

- NGOs, โรงเพาะต้นไม้, และการทำฟาร์มส่วนใหญ่ยังขาดเงินทุนที่จะเริ่มต้นทำ, ดำเนินงาน, และการขยายธุรกิจ

 

แนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

- บริษัท Khulna City Corporation (KCC) ได้เสนอว่าควรมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ก่อนจะถูกนำไปเก็บรวมกัน ทำให้โรงเพาะต้นไม้ต่างๆสามารถนำเฉพาะขยะที่เป็นออแกนิคไปทำปุ๋ย

- KCC และ องค์กรในเมืองต่างๆให้นำพื้นที่ตามชานเมืองที่ว่างเปล่าและยังไม่ได้ถูกใช้งาน มาทำเป็นโรงเพาะต้นไม้และโรงทำปุ๋ย

- องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น KCC, มหาวิทยาลัยต่างๆ, และองค์กรด้านการวิจัยและพัฒนา ช่วยเหลือในด้านงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการทำปุ๋ยออแกนิค, ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, การควบคุมคุณภาพ, ประเด็นด้านการจัดการและความยั่งยืน

- หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตร จะต้องควบคุมและติดตามเฝ้าดูคุณภาพของปุ๋ยที่นำมาขายใน supermarket ต่างๆ

- องค์กรด้านการเงิน เช่น ธนาคาร ช่วยสนับสนุนด้านการเงินหรือกองทุนต่างๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการเริ่มต้น, ดำเนินธุรกิจ, และขยายธุรกิจ ในด้านการทำโรงเพาะต้นไม้และการทำปุ๋ย 

 

เป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่าง ที่สามารถนำมาประยุคใช้ได้ในบ้านเรา ซึ่งอาจจะเริ่มจากโมเดลเล็กเป็นพื้นที่ ทดลอง แล้วค่อยขยายให้ใหญ่ขึ้น การจัดการปัญหาขยะด้วยวิถีแห่งเกษตรกร จึงเป็นทางออกที่ยั่งยืนได้ ประโยชน์ทั้งการแก้ปัญหาขยะของชุมชน ได้ประโยชน์ทั้งการลดใช้สารเคมีในภาคเกษตรอีกด้วย   

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube