ดริพเทคและกองทุนเพื่อสังคมโฆสลา อิมแพค : กิจการระบบน้ำหยดและการระดมทุนของกองทุนเพื่อสังคม


ความเป็นมา
         ดริพเทค เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (เป็นผลผลิตของ the Silicon Valley-based company) เมื่อ 11 มกราคม ค.ศ. 2012 เป็นกิจการที่มุ่งสร้างระบบชลประทานน้ำหยดสำหรับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีข้อมูลความสามารถจะเข้าถึงระบบน้ำของบุคคลได้เพียง 20% ของโลก ในขณะที่ระบบชลประทานขนาดใหญ่ก็ไม่เหมาะสมกับลักษณะของการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบรายย่อยของเกษตรกร บริษัทมีฐานการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์และระบบเพื่อร่วมจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนานี้ ที่เมืองปูเน่ (Pune) ของอินเดีย และกรุงปักกิ่งของจีน หลักคิดของบริษัทมุ่งจัดการใช้ประโยชน์จากน้ำที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืช มากกว่าการให้น้ำแบบรดบนดินหรือแบบฝักบัว ด้วยระบบดังกล่าวของบริษัทดริพเทค ได้ช่วยลดต้นทุนสำหรับกิจการที่ริเริ่มให้ภาคเกษตรลดต้นทุนลง และช่วยทำเกษตรกรรายย่อย/ที่เริ่มต้นใหม่ๆ สามารถเข้าสู่ระบบตลาดหรือระบบเศรษฐกิจได้แบบมีความได้เปรียบแบบไร้คู่แข่ง (www3.weforum.org,เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)
          บริษัทดริพเทค ถือได้ว่าเป็นกิจการมุ่งแสวงหากำไรของวิสาหกิจเพื่อสังคม (a for profit social enterprise)ที่สร้างสรรค์ระบบชลประทานแบบน้ำหยด ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพของเกษตรกรรายย่อยที่จะมีที่ทำกินแบบกระจัดกระจาย (small-plot farmers) กิจการของบริษัทนี้เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างกองทุนเพื่อสังคมของโฆสลา อิมแพค กับบริษัท Westlake Chemical Corporation of Houston, Texas โดยมี ปีเตอร์ ไฟรค์แมน (Peter Frykman) เป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทดริพเทค เน้นว่า เป็นกิจการที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถจัดการแก้ไขปัญหาสังคมที่ไม่เคยได้รับการจัดการมาก่อนอย่างเป็นระบบ (โดยกลไกโดยตรงของภาครัฐ) และการระดมทุนในรูปแบบใหม่ของกองทุนเพื่อสังคม (ซึ่งเป็นกลไกใหม่ของระบบตลาดทุน ซึ่งเป็นส่วนผสมของการลงทุนของปัจเจก-เอกชน ที่หวังผลร่วมในการจัดการปัญหาทางสังคมร่วมกับกองทุน) และสามารถขยายขนาดความสามารถในการจัดการให้ขยายตัวไปได้อีก ทั้งนี้ก็เพราะเกษตรกรรายย่อยแบบกระจัดกระจายนี้ มีมากถึง 600 ล้านราย (www.driptech.com. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)


(ที่มาภาพ : http://bit.ly/2p4hTy8)

การดำเนินงานของกระบวนการพัฒนา
* การพัฒนาระบบชลประทานน้ำหยดเพื่อเกษตรกรรายย่อย
          ระบบของดริพเทค ใช้ระบบแรงดันต่ำ ปราศจากการอุดตัน ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษาโดยเกษตรกร ซึ่งมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับระบบน้ำหยดทั่วไป เป็นผลงานจากการวิจัยในระหว่างการศึกษาปริญญาโทวิศวกรรมเครื่องกลที่ Standford University และการเดินทางไปศึกษาภาคสนามที่เอธิโอเปียของไฟรค์แมนเพื่อศึกษาปริญญาเอกในเรื่องนี้โดยตรงตามหลักสูตรของ Standford University การบริหารงานของบริษัทได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารหลายองค์กรมาร่วมเป็นที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนางานเพื่อสังคมนี้ด้วย รวมทั้งผู้บริหารองค์กรที่มีชื่อเสียง เช่น Hasso Plattner Institute of Design at Standford ซึ่งเป็นสถาบันออกแบบทั้งแบบของอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือ ตลอดจนงานด้านศิลปะ และแฟชั่น ฯลฯ และ International Development Enterprise (IDE) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ เป็นต้น การลงทุนในอินเดียบริษัทดริพเทค ได้ร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ของท้องถิ่น คือ บริษัท Godrej โดยเริ่มบริการในรัฐการ์นาตากา (Karnataka) และรัฐมหาราชทรา (Maharashtra) (www.indiamart.com. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)

* การระดมทุนเพื่อสังคม
          กองทุนโฆสลา อิมแพค (Khosla Impact) เป็นกองทุนที่ริเริ่มโดยวิโนด โฆสลา (Vinod Khosla) อดีตผู้บริหารของบริษัท Sun Microsystems (คำว่า SUN มาจากคำเต็มของ Standford University Network ซึ่งวิโนด จัดตั้งขึ้นร่วมกับเพื่อนศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน คือ Standford University อีก 2 คน และเพื่อนอีกคนหนึ่งจาก University of California at Berkeley) ก่อนจะผันตัวเองออกมาเป็น Venture Capitalist ซึ่งเป็นอาชีพของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างนักลงทุนกับบริษัทที่กำลังระดมทุน หรือเป็นตัวแทนนายหน้าของบริษัทที่กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์
          บริษัทในกิจการของกองทุนเพื่อสังคมของโฆสลา อิมแพค ยังมีอีกหลายกิจการ เช่น
1) บริษัท Kopo Kopo เป็นบริษัทที่กระตุ้นให้กิจการขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ให้ยอมรับและใช้จ่ายผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร รวมทั้งกระตุ้นให้เปลี่ยนผ่านจากระบบการใช้จ่ายเงินสดไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่แบบ digital one
2) บริษัท BBOXX เป็นระบบเครื่องผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 3 วัตต์ถึง 5 กิโลวัตต์ ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ไฟฟ้าเฉพาะจุดในพื้นที่ห่างไกล
3) บริษัท Embrace Innovations เป็นบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบริการสุขภาพให้เกิดความทั่วถึง มีต้นทุนต่ำ สามารถบริการให้ความอบอุ่นกับเด็กแรกเกิดในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า เป็นเครื่องที่ทำงานโดยไม่ใช้ไฟฟ้า
4) บริษัท EyeNetra เป็นบริษัทผลิตแว่นตา สำหรับประชาชนทั่วโลกจำนวน 2.4 พันล้านคน ที่ยังขาดแคลนแว่นตา
5) บริษัท babajob.com เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสำหรับการหางานและการจ้างงานในอินเดีย เป็นบริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์และมือถือ การบริการนี้ทำให้คนหางานสามารถหางานที่ตรงใจได้ใกล้ๆ บ้านและบริษัทก็สามารถจัดหากำลังคนได้มากขึ้น
6) บริษัท MokshaYug Access (MYA) เป็นบริษัท ที่มุ่งจัดการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าจากชนบทเข้าสู่เมือง ซึ่งมีความต้องการรวบรวมข้อมูลและสร้างความร่วมมือการจัดการร่วมกับเรื่องอื่นๆ 
7) บริษัท Bridge International Academies เป็นเครือข่ายของโรงเรียนประถมที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป
8) บริษัท SunFunder เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับนักลงทุนเอกชนและนักลงทุนทั่วไปที่สนใจต่อการสร้างตลาดพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
9) บริษัท Hippocampus Learning Center (HLC) เป็นการจัดการสำหรับเด็กอนุบาลและผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับในภาคชนบทของอินเดีย มีตัวอย่างที่เป็นพื้นที่ดำเนินการในรัฐคานาตากา (Karnataka)
10) บริษัท Simpa เป็นบริษัทบริการระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือนในภาคชนบทของอินเดียด้วยระบบรายย่อย (micro enterprises) และสินเชื่อแบบ leasing model
11) บริษัท Logistimo เป็นบริษัทจัดระบบขนส่งสินค้าไปยังชนบทด้วยเทคโนโลยีและมีต้นทุนต่ำ ด้วยระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับการค้าปลีก ค้าส่ง การกระจายสินค้า การขนส่ง และการจัดหาสินค้า ฯลฯ
12) บริษัท NeoGrowth เป็นกิจการสนับสนุนการกู้ยืมเงินเพื่อการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง/นอกเหนือไปวงเงินให้กู้ของธนาคารที่มีให้สำหรับกิจการขนาดเล็กขนาดย่อม
13) บริษัท Milaap เป็นบริการพื้นที่เป็นตัวกลางสำหรับการระดมทุนรายย่อยผ่านระบบออนไลน์จากประชาชนทั่วโลกที่มีความต้องการสนับสนุนชุมชนในอินเดีย โดยที่ Milaap จะเป็นปล่อยกู้เงินจากการระดมทุนเหล่านั้น ไปจัดการแก้ไขปัญหาชุมชนที่เป็นเรื่อง น้ำสะอาด สุขภาพ พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งการฝึกฝนอาชีพเพื่อสร้างรายได้
14) บริษัท Branch เป็นบริการสนับสนุนเงินทุนต่อการพัฒนากิจการตลาดผ่านระบบมือถือสำหรับการสร้างตลาดของคนรุ่นใหม่ (khoslaimpact.com. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)


(ที่มาภาพ : http://bit.ly/2p7DCpE)

* การประกอบการโรงงาน
          หากการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ไม่ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากบริษัท Westlake Chemical การพัฒนาระบบชลประทานน้ำหยดนี้จะไม่สามารถจะเกิดขึ้นและมีความสามารถและประสบการณ์เพียงพอที่จะขยายกิจการออกไป ทั้งนี้ก็เพราะโรงงานดังกล่าวมีฐานความรู้ ความเชี่ยวชาญในกิจการระหว่างประเทศ เป็นผู้ส่งออกวัสดุเคมีภัณฑ์ โพลีเมอร์ และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีโรงงาน 14 โรงในอเมริกา แคนาดา และจีน บริษัทอยู่ในระหว่างการแสวงหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาแทนที่กิจการเดิมที่ถูกขัดขวางอย่างกว้างขวางจากสังคมผู้บริโภคและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์อาหาร อุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์ สี การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งระบบท่อน้ำ การจัดการน้ำเสีย และส่วนประกอบในระบบชลประทาน (www.driptech.com. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)

ผลลัพธ์
          บริษัทดริพเทค ได้รับรางวัลชนะเลิศของ Social Venture Network Innovation Award Winner ประจำปี ค.ศ. 2012 ซึ่งจัดขึ้นโดย World Economic Forum Technology Pioneer โดยที่ก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ. 2009 ก็ได้รับรางวัล Tech Award Laureate for Technology Benefiting Humanity (www.driptech.com. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)
          การทำงานแก้ไขปัญหาการขาดแคลนและการใช้น้ำโดยระบบน้ำหยดของเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินใช้ประโยชน์แบบกระจัดกระจายของบริษัทดริพเทค มีผลทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 20-50 % ลดจำนวนแรงงานลง ลดการใช้ไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำ ทำให้มีต้นทำการผลิตโดยรวมต่ำกว่าการผลิตโดยระบบอื่นไปถึง 50 % (www.sankalpforum.com. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560) เฉพาะในอินเดียบริษัทมีจำนวนเกษตรกรที่ใช้บริการนี้มากขึ้นจาก 12,000 รายในปี ค.ศ. 2013 เป็น 17,000 รายในปี ค.ศ. 2014 (Charlton and Chilver. เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560)

สรุป
          กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์และระบบชลประทานน้ำหยดของบริษัทดริพเทค ข้างต้น จะเห็นถึงบทบาทของการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาของสังคมที่ไม่เคยได้รับการจัดการแก้ไขมาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะการจัดการแต่เดิมให้ความสำคัญไปยังระบบน้ำชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่สามารถจัดการต่อปัญหาของเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินทำกินกระจัดกระจาย (small – plot farmer) แต่ด้วยการพัฒนาระบบขึ้นใหม่ของบริษัทที่เป็นระบบแรงดันต่ำ ปราศจากการอุดตัน ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษาโดยเกษตรกร เป็นระบบน้ำที่เจาะจงไปยังพืชมากกว่าการราดน้ำไปพื้นดิน
          การประกอบการของบริษัทดริพเทค ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับผู้ลงทุน ตั้งแต่การระดมทุนและการสนับสนุนของกองทุนเพื่อสังคมโฆษสลา อิมแพค การประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ   ผู้มีความรู้ความชำนาญทั้งในมหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ การร่วมงานกับบริษัทผู้ชำนาญการในประเทศ เช่น Westlake การร่วมลงทุนเพื่อการขยายกิจการกับ Godrej  ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในอินเดีย หากจะพิจารณาในกรอบของนวัตกรรมสังคม กรณีนี้จะเป็นตัวอย่างของการทำงานแบบผนึกความร่วมมือการสร้างสรรค์ (Co-creation) ระหว่างปีเตอร์ ไมเยอร์ ในฐานะที่เป็นต้นคิดกับการทำงานร่วมกับที่ปรึกษา Hasso Plattner Institute of Design at Standford และ International Development Enterprise (IDE) การร่วมงานลงทุนประกอบกิจการเป็นโรงงานระหว่างดริพเทคกับกองทุนเพื่อสังคมโฆษสลาอิมแพค และบริษัท Westlake Chemical การขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศในกรณีของอินเดียดริพเทค ก็ไปร่วมลงทุนกับ Godrej ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ของอินเดีย
           กรณีข้างต้น ยังแสดงให้เห็นถึงการจัดทุนใหม่ๆของโฆษสลา อิมแพค ที่ร่วมสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม (ซึ่งในที่นี้ยังจะเห็นบทบาทการลงทุนในกิจการเพื่อสังคมในกรณีต่างๆของกองทุนนี้อีกด้วย) ถือได้ว่าเป็นบทบาทการจัดการทุนใหม่ๆ ที่ร่วมจัดการแก้ไขปัญหาที่ระบบเก่าไม่สามารถจัดการได้ อีกมิติหนึ่งด้วย


(ที่มาภาพ : http://bit.ly/2pvrLEC)







 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube